พรูเด็นเชียล ประเทศไทย เปิดตัว “PRUBetter Care” แผนประกันสุขภาพที่ครอบคลุม ให้ลูกค้าวางแผนค่าใช้จ่าย ตอบโจทย์ความคุ้มครองที่ต้องการ
บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย เปิดตัวแผนประกันสุขภาพ “PRUBetter Care” (พรูเบทเทอร์ แคร์) สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่ให้ลูกค้าสามารถเลือกแผนประกันสุขภาพที่หลากหลายตอบโจทย์กับความต้องการ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่ครอบคลุม และสามารถวางแผนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เหมาะกับตัวเอง มีตัวเลือกที่ช่วยให้จ่ายเบี้ยประกันภัยถูกลง เหมาะสำหรับลูกค้าที่ไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล หรือสวัสดิการเดิมที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมเพียงพอ โดยมีให้เลือกทั้งแบบ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) และสามารถซื้อความคุ้มครองผู้ป่วยนอกเพิ่มเติมได้ (OPD) รวมถึงแผนประกันสุขภาพคุ้มครองโรคมะเร็ง
สำหรับแผนประกันสุขภาพนี้ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ขอแนะนำ “PRUBetter Care IPD Protect” (พรูเบทเทอร์ แคร์- ไอพีดี โพรเทกต์) ซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ที่เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในตามจริง (แต่ไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ตามแผนความคุ้มครองที่เลือก) และเมื่อตรวจพบและเข้ารับการรักษาด้วย 7 โรคร้ายแรง* (เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุในกรมธรรม์) ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในจะเพิ่มเป็น 2 เท่า นอกจากนี้ ยังมีความคุ้มครองการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยจิตแพทย์สำหรับผู้เอาประกันภัย และบุคคลในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย (สูงสุด 5 ท่าน รวมผู้เอาประกันภัย) และหากผู้เอาประกันภัยสุขภาพดี ไม่มีการเคลม 2 ปีกรมธรรม์ต่อเนื่อง จะได้รับส่วนลด 10% ของค่าเบี้ยประกันภัยความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ในปีกรมธรรม์ถัดไป และสามารถเลือกจ่ายเบี้ยประกันภัยถูกลงได้โดยการเลือกรับความคุ้มครองแบบความรับผิดส่วนแรก (Deductible)
ทั้งนี้ ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกรับความคุ้มครองให้ตรงกับความต้องการได้เพิ่มเติม ได้แก่ ความคุ้มครองผู้ป่วยนอก ความคุ้มครองโรคมะเร็งแบบเจอ จ่าย จบ หรือความคุ้มครองผลประโยชน์ค่าชดเชยรายวัน อีกด้วย โดยลูกค้าที่สนใจสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ที่ตัวแทนของ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ทั่วประเทศ หรือ https://www.prudential.co.th/corp/prudential-th/th/health/
*ได้แก่ โรคมะเร็งระยะลุกลาม การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน โรคพาร์กินสัน ไตวายเรื้อรัง