การค้า การส่งออกข่าวสังคมซีเอสอาร์สถาบันการเงิน

อลิอันซ์รายงานระบบบำนาญในเอเชีย ประจำปี 2564

อลิอันซ์รายงานระบบบำนาญในเอเชีย ประจำปี 2564 เอเชียจำเป็นต้องปฏิรูปบำนาญ หลังโควิด-19· โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในเอเชียน้อยกว่าทวีปอื่นๆมาก แต่กลุ่มรายได้น้อยยังคงได้รับผลกระทบหนัก· เอเชียจะมีจำนวนประชากรอายุมากกว่า 65 ปีถึงเกือบหนึ่งพันล้านคนในปี 2593· ประเด็นสำคัญ ในการปฏิรูประบบบำนาญ คือ การปรับอายุเกษียณให้สอดคล้องกับอายุขัยของคนในอนาคต· ทุกประเทศในเอเชียจำเป็นต้องปฏิรูประบบบำนาญอย่างเร่งด่วน แต่อาจมากน้อยต่างกัน· อายุเกษียณเป็นจุดอ่อนของระบบบำนาญไทย อลิอันซ์เปิดเผยรายงานระบบบำนาญในระดับภูมิภาคฉบับแรก ซึ่งเป็นการศึกษาระบบบำนาญในภูมิภาคเอเชียโดยใช้ตัวชี้วัดระบบบำนาญของอลิอันซ์ Allianz Pension Indicator (API) โดยประเมินระบบบำนาญในสามด้านหลักๆ ได้แก่ สถานภาพด้านประชากรศาสตร์และการคลัง ความยั่งยืน และความเพียงพอเอเชียอยู่ในจุดที่จะเติบโตได้ดีในช่วงทศวรรษปี 2020 หลังการรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดได้เป็นอย่างดี ในขณะที่กิจกรรมด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคลดลงน้อยกว่า 2% ในปี 2020 GDP ของโลกลดลงมากกว่า 4% และเกือบ 8% ในละตินอเมริกา โดยสาเหตุหลักของความสามารถในการฟื้นตัวเองของเอเชียได้แก่ การเติบโตที่สูงถึง 2.3% ของจีนซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพียงเศรษฐกิจเดียวที่เติบโตระหว่างสถานการณ์โรคระบาดลูโดวิค เซอร์บราน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ของอลิอันซ์ กล่าวว่า “โดยรวมแล้ว เอเชียถือว่าสร้างผลงานได้อย่างน่าทึ่งมากในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เอเชียมีข้อได้เปรียบเหนือภูมิภาคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การเพิกเฉยต่อวิกฤตด้านประชากรศาสตร์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเอเชียก็อาจทำให้ข้อได้เปรียบนั้นไม่มีความหมาย ประชากรรุ่นต่อไปในเอเชียอาจต้องเผชิญกับผลที่จะเกิดขึ้น การไม่ปฏิรูประบบบำนาญ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของความเท่าเทียมในสังคมและความสามารถในการฟื้นตัวเอง อาจนำเอเชียไปถึงจุดจบของการเติบโตที่ยิ่งใหญ่ของเอเชียโรคระบาดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่คร่านับล้านชีวิตทั่วโลก ซึ่งทำให้อายุคาดเฉลี่ยของปี 2563 ลดลง แต่กระแสด้านประชากรศาสตร์ที่กำลังเกิดขึ้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ อัตราการเกิดที่ลดลงและอายุคาดเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เอเชียมีประชากรสูงอายุเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคระบาดโคโรน่าทำให้การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุช้าลงแค่ชั่วคราว แต่ในอีก 30 ปีข้างหน้า ประชากรในเอเชียที่อายุ 65 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า หรือจาก 412 ล้านคนในปัจจุบันไปเป็น 955 ล้านคนในปี 2593 ซึ่งเท่ากับ 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในตอนนั้นมิเคล่า กริมม์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของกลุ่มอลิอันซ์และผู้เขียนรายงานฉบับนี้ “โควิด 19 ไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างถาวรต่อการแก่ตัวของประชากร แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าไม่มีผลกระทบเลยต่อระบบบำนาญทุกรูปแบบ ในทางตรงกันข้าม โควิด 19 ยิ่งทำให้ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมที่มีอยู่แล้วแย่ลงไปอีก แผลเป็นของเศรษฐกิจถดถอย การว่างงานที่สูงขึ้น และการศึกษาที่ไม่ต่อเนื่องจะยังคงอยู่ และยังเป็นแผลที่เกิดจากมาตรการช่วยเหลืออย่างเช่น การลดหรืองดส่งเงินสมทบบำนาญ หรือการอนุญาตให้ถอนเงินบำนาญออกมาใช้ชั่วคราว มาตรการระยะสั้นเช่นนี้มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความยากจนยามชราในอนาคตข้างหน้า อาจกล่าวได้ว่าโควิดเป็นตัวเร่งให้การปฏิรูประบบบำนาญจำเป็นต้องเกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนในขั้นตอนของการพัฒนาระบบบำนาญในเอเชีย ยกตัวอย่างเช่น สัดส่วนของผลประโยชน์ในกัมพูชามีเพียง 3% ในขณะที่ญี่ปุ่นสูงถึง 100% ความแตกต่างที่สูงเช่นนี้ยังมีให้เห็นในสถานภาพทางการเงินของครัวเรือน ในไต้หวันและฮ่องกง สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิของครัวเรือนมีมากกว่า 400% ของ GDP ทั้งหมดในปี 2562 ในขณะที่ศรีลังกา กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีน้อยกว่า 50% ความแตกต่างเช่นนี้มีความสำคัญ เพราะแสดงให้เห็นถึงการเข้าถึงบริการทางด้านการเงินอย่างจำกัดของบางกลุ่มประชากร เป็นอุปสรรคต่อการสะสมเงินสำรองชราภาพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบบำนาญแบบ Pay-as-you-goปัญหาหลักเกี่ยวกับความยั่งยืนของระบบบำนาญได้แก่ อายุเกษียณในตลาดหลายแห่งซึ่งไม่สะท้อนอายุคาดเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในหลายทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดหลายแห่งกำลังพิจารณาขยายอายุเกษียณ การเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอาจไม่เพียงพอที่จะลดผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของอายุคาดเฉลี่ยนในอนาคตตลาดเอเชีย 15 ตลาดในรายงานฉบับนี้มีค่า API ที่แตกต่างกันค่อนข้างมากแสดงให้เห็นถึงความพยายามที่แตกต่างกันในการปฏิรูประบบบำนาญ (ดูตาราง) ยกตัวอย่างเช่น อินโดนีเซียขยายอายุเกษียณออกไปอย่างมีนัยสำคัญในขณะที่ตลาดอื่นๆ ยังไม่ได้ทำอะไรในเรื่องนี้ มีเพียง 4 ตลาด (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน) ที่นำปัจจัยด้านประชากรศาสตร์เข้ามาพิจารณาในระบบบำนาญ ในสิงคโปร์ การจ่ายเงินรายปีเข้าระบบบำนาญได้รับการปรับอย่างสม่ำเสมอ มีไม่กี่ตลาดที่มีระบบบำนาญที่มีแหล่งมาจากเงินกองทุน เช่น สิงคโปร์และญี่ปุ่น ผลลัพธ์ที่ได้คือ ตลาดในเอเชียมีอันดับด้านความยั่งยืนและความเพียงพอที่แตกต่างกันอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีประเทศในเอเชียประเทศไหนที่ติด 10 อันดับแรกของโลก จึงเป็นที่ชัดเจนว่าทุกประเทศในเอเชียยังคงมีงานต้องทำในการทำให้ระบบบำนาญของตัวเองสามารรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วด้านประชากรศาสตร์เป็นเหตุผลสำคัญที่ประเทศในเอเชียจะต้องให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบบำนาญเช่นเดียวกับในประเทศไทย การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรสูงวัยและอายุเกษียณที่ต่ำหรือแค่ 60 ปีสำหรับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ส่งผลเสียต่อความยั่งยืนในระยะยาวของระบบบำนาญ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังจำเป็นต้องขยายระบบบำนาญให้ครอบคลุมประชากรวัยทำงานทั้งหมดซึ่งมีน้อยกว่า 50% ความท้าทายอีกประการหนึ่งได้แก่ ระดับหนี้ครัวเรือนที่สูง ซึ่งทำให้กลุ่มรายได้น้อยเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ระบบบำนาญในเอเชียจากการประเมินโดยด้วย APIสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://www.allianz.com/en/economic_research.html

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button